TCAS คืออะไรนะครับ พี่ก้อง?

TCAS คืออะไร?

ขอบคุณรูปภาพจาก https://108kaset.com

เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนที่กำลังอยู่ ม.6 แล้วกำลังจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย กำลัง งง งวย สับสน ว่า TCAS มันคืออะไรเนี่ย ซึ่งถ้าถามพี่ ตอนแรกก็ งง เช่นกัน !! เพราะตอนได้ยินครั้งแรก เพิ่งกลับมาจากเยอรมันได้ไม่นาน แต่ก็แอบคิดว่าประเทศเราขยันเปลี่ยนระบบจริงจริ๊ง ตั้งแต่ Entrance สมัยพี่ จนระบบ ONET/ANET, Admission ที่เพิ่งใช้กันไม่นาน มาตอนนี้คือ TCAS ที่ยิ่งเปลี่ยนก็ยิ่ง งง ว่ามั้ย ?

แต่ตอนนี้ พี่ก้อง หาข้อมูลมาให้น้อง แล้วนะครับต้อง ขอขอบคุณบทความจาก campus.sanook.com และ seniorswu.in.th ด้วย ที่ได้สรุปมาให้เราได้รู้กันนะครับ งั้นเรามาเริ่มกันเลย ดีฝ่า !!

TCAS หรือ Thai University Center Admission System เป็นระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเริ่มนำมาใช้ในปีการศึกษา 2561 (อยากรู้จริงๆ จะใช้ได้กี่ปี กันนะ อิอิ) เป็นระบบที่ออกแบบโดยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) (เฮ้ออ่านถึงตรงนี้ก็ยิ่งเซ็ง ไม่เคยรู้จริงๆ ว่าระบบไหนเหมาะกับประเทศไทย)

 

TCAS มีขั้นตอนอย่างไร?

ระบบ TCAS ที่ทาง ทปอ. ได้ประกาศออกมา มี 5 ขั้นตอน ดังนี้นะน้อง

1. คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

เพิ่งช่วยน้องรุ่น TCAS 61 ก็ดูเข้าง่ายดี แต่น้องต้องทำผลงาน กิจกรรมค่อนข้างเยอะ แต่ก็คิดอยู่ว่าไม่ใช่ทุกคนใช่ไหมที่จะรู้ล่วงหน้า ว่าต้องทำอะไรแบบนี้แล้วเก็บประวัติ ใบประกาศนียบัตร ไว้เยอะ ๆ ดังนั้น กันไว้ดีกว่า ต่อจากนี้ น้อง ๆ ม.4 ต้องขยันอัพเดท หรือ ร่วมกิจกรรมทั้งทางวิชาการ และกิจกรรมอื่น ๆ ไว้ด้วยเด้อ จะหาว่าพี่ก้องไม่เตือน

ในรอบนี้จะพิจารณาจากผลงานของนักเรียนที่นำมาใส่ Portfolio ไม่มีการสอบข้อเขียน (แอบดูดีในจุดนี้) ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยจะคัดเลือกนักเรียนจำนวนหนึ่ง อาจจะมีการสัมภาษณ์หรือทดสอบทักษะเฉพาะทาง (มาถึงตรงนี้น้องๆ หลายคนเริ่มกลัว แต่พี่ช่วยให้ผ่านมาหลายคนแล้วนะเออ) โดยการคัดเลือกในรอบนี้เป็นแค่การ Pre-screening เท่านั้น

2. สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน สำหรับนักเรียนในพื้นที่

ในรอบนี้จะเป็นการรับนักเรียนแบบโควตา สำหรับนักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ หรือ รอบเขตการศึกษา ที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด ในขั้นตอนนี้ทางมหาวิทยาลัยสามารถจัดสอบเองได้เลย หรือจะใช้ข้อสอบส่วนกลาง อย่าง 9 วิชาสามัญ หรือ GAT/PAT เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ซึ่งระบบนี้ แอบคล้าย ๆ ปีก่อน ๆ ที่ใช้คะแนน GAT/PAT รอบแรกยื่นสมัคร ซึ่งน้อง ๆ สายวิทย์-คณิต ค่อนข้างจะมีโควตาเยอะ แต่จะจำกัดด้วยว่า อยู่ในเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัยที่น้องอยากเข้าด้วยไหม

3. การรับตรงร่วมกัน

บอกตรง ๆ ว่าอันนี้แอบ สงสัย ว่าทาง ทปอ. จะเข้ามายุ่งทำไม ในรอบนี้เป็นการสอบรับตรง ซึ่งโครงการรับตรงอย่าง กสพท. สำหรับน้องๆ ที่อยากเรียนแพทย์ ก็รวมอยู่ในรอบนี้ด้วย โดยทาง ทปอ. จะเป็นส่วนกลางในการรับสมัครในรอบนี้ และทางมหาวิทยาลัยจะพิจารณาผลการคัดเลือก โดยผู้สมัครสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชา ในส่วนของข้อสอบ น่าจะมีปล่อยออกมาให้เห็นกันว่า ยาก หรือ ง่าย กว่า GAT/PAT หรือ ONET ยังไงบ้าง แต่ถ้ามองในแง่ดีคือ ไม่ต้องอ่านหนังสือเยอะแบบเมื่อก่อน เพราะแต่ละที่แนวข้อสอบจะไม่เหมือนกันนะครับ (แอบมองแบบ Positive Thinking)

4. การรับ Admission 

ในรอบนี้ยังคงใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกแบบ Admission โดยใช้องค์ประกอบของคะแนน อย่างเช่น GPAX, O-NET, GAT/PAT หรืออื่นๆ ซึ่งผู้สมัครสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชา

5. การรับตรงแบบอิสระ

อ้าวเห้ยยย ทำไมมันดูทับซ้อนข้อ 3 นะ ทางมหาวิทยาลัยสามารถใช้เกณฑ์การสอบที่จัดขึ้นเอง หรือการสอบวิชาเฉพาะ (โอ้วโหว พุงกางกันเลยครับ ท่าน ๆ ทั้งหลาย) และส่งผลการคัดเลือกให้ทาง ทปอ.

มาถึงตรงนี้ ยังไม่จบนะน้อง ระบบ TCAS มีการเพิ่ม Clearing-House เป็นระบบที่ใช้ในการยืนยันสิทธิ์ ซึ่งผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในแต่ละรอบจะต้องกดยืนยันสิทธิ์ Clearing-House ในการที่จะเข้าเรียนได้แค่คนละ 1 ที่ เท่านั้น ระบบนี้สร้างมาเพื่อไม่ให้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกหลาย ๆ ที่พร้อมกัน “กันที่” ของคนอื่นนั่นเอง (ถึงตรงนี้แอบเห็นด้วยนิดส์นึง) และยังสะดวกต่อทางมหาวิทยาลัยในการนับจำนวนคนอีก

สรุปก็คือ ไม่ต่างกันมากกับ ระบบ Admission แต่มันเหมือนการแบ่งเค้ก กันซะมากกว่า ซึ่งจะสังเกต ได้จากการที่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ถ้าต้องการจะจัดสอบเอง ต้องรอให้ ทปอ. จัดสอบให้คุ้มก่อนนั่นเอง แต่ถ้าน้อง มองในแง่ดี (น้องคงคิดในใจ ว่า มีหราาาา) ก็คือ อย่างน้อย ก็ยังมีให้สอบหลายรอบเหมียนนนเดิม แล้วสรุปว่า ที่บอกว่า TCAS ช่วยให้น้อง ประหยัดค่าสมัครสอบได้มากขึ้น นี่คือเป็นความจริงแค่ไหน ก็คงแล้วแต่น้องจะคิดแล้วแหละ 5555+ สวัสดีประเทศไทย

 

อ้างอิง:

พี่ มศว พาน้องสอบ, 2017, [สรุป] มาแล้ว! ‘TCAS’ ระบบการคัดเลือกแบบใหม่ เริ่มใช้ปี 2561.. ไม่ใช่เอ็นทรานซ์นะ, [Online], Available: https://seniorswu.in.th/2017/tcas-admission/  (11 July 2020)

SANOOK, 2018, TCAS คืออะไร เข้าใจได้ในไม่กี่นาที, [Online], Available: https://www.sanook.com/campus/1385237/ (11 July 2020)

ไทยรัฐออนไลน์, 2018, แม่จ๋าอย่ากดดัน! TCAS คืออะไร ทำไมหนูไม่ติด, [Online], Available: https://www.thairath.co.th/content/1294737 (11 July 2020)

ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.), n.d., [Online], Available: http://www.cupt.net/tcas/ (11 July 2020)

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2